วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

คำมูลคำประสม


คำมูล
  คำที่มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัว มีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นคำชนิดต่างๆ ได้แก่ นำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท
คำสันธาน
2.เป็นคำไทยแท้หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้
3.เป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้










คำประสม๑. คำประสมที่นำคำมูลที่มีเนื้อความต่างๆ มาประสมกัน แล้วได้ใจความเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น
“หาง” หมายถึง ส่วนท้ายของสัตว์ กับ “เสือ” หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง
รวมกันเป็นคำประสมว่า “หางเสือ” แปลว่า เครื่องถือท้ายเรือ
และคำอื่นๆ เช่น ลูกน้ำ แม่น้ำ แสงอาทิตย์ (งู) เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายต่างกับคำมูลเดิมทั้งนั้น คำประสมพวกนี้ถึงแม้ว่ามีใจความแปลกออกไปจากคำมูลเดิมก็ดี แต่ก็ต้องอาศัยเค้าความหมายของคำมูลเดิมเป็นหลักเหมือนกัน ถ้าเป็นคำที่ไม่มีเค้าความเนื่องจากคำมูลเลย แต่เผอิญมาแยกออกเป็นคำมูลได้นับว่าเป็นคำประสมจะนับเป็นคำมูล
๒. คำประสมที่เอาคำมูลหลายคำซึ่งทุกๆ คำก็มีเนื้อความคงที่ แต่เมื่อเอามารวมกันเข้าเป็นคำเดียวก็มี
เนื้อความผิดจากรูปเดิมไป ซึ่งถ้าแยกออกเป็นคำๆ แล้วจะไม่ได้ความดังที่ประสมกันอยู่นั้นเลย
๓. คำประสมที่เอาคำมูลมีรูปหรือเนื้อความซ้ำกันมารวมกันเป็นคำเดียว คำเหล่านี้บางทีก็มีเนื้อความคล้ายกับคำมูลเดิม บางทีก็เพี้ยนออกไปบ้างเล็กน้อย และอีกอย่างหนึ่งใช้คำมูลรูปไม่เหมือนกัน แต่เนื้อความอย่างเดียวกัน
รวมกันเข้าเป็นคำประสมซึ่งมีความหมายต่างออกไปโดยมาก
๔. คำประสมที่ย่อออกมาจากใจความมาก คำพวกนี้มีลักษณะคล้ายกับคำสมาสเพราะเป็นคำย่ออย่างเดียวกันรวมทั้งคำอาการนามที่มีคำว่าการหรือความนำหน้า
๕. คำประสมที่มาจากคำสมาสของภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ราชกุมาร (ลูกหลวง)
ข้อสังเกต มีคำหลายคำรวมกันเข้าเป็นกลุ่มหนึ่งๆ แต่ไม่ใช่คำประสมเพราะคำเหล่านี้ต่างก็ประกอบกันได้ความตามรูปเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น